ศาสนายูดาห์ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา

ศาสนายูดาห์ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา
การปฏิวัติ ความพ่ายแพ้ และ การอพยพ
คำสอนของศาสนายูดาห์ช่วยรวมชาวยิวโบราณให้เป็นเอกภาพ หลังจากที่ชาวโรมันพิชิตชาวอิสราเอล มีเหตุการณ์มากมายเข้าคุกคามจนทำให้สังคมยิวแตกแยกจากกัน
การคุกคามสังคมของชาวยิวครั้งหนึ่ง คือ การปกครองโดยชาวต่างถิ่น เมื่อเริ่มต้นคริสต์ศตวรรษแรก ชาวยิวจำนวนมากในเยรูซาเลมอดทนต่อการปกครองของคนต่างถิ่น ถ้าพวกเขาได้อิสรภาพคืนมา ชาวยิวเหล่านี้คิดว่า พวกเขาจะสร้างอาณาจักรอิสราเอลอีกครั้ง

การปฏิวัติต่อกรุงโรม
ชาวยิวเหล่านี้ที่ก่อการกบฏส่วนมากคือกลุ่มที่เรียกว่า พวกซีลอต (Zealot = พวกหัวรุนแรง พวกคลั่งศาสนา) กลุ่มนี้มีความคิดว่า ชาวยิวไม่ควรตอบคำถามใคร ๆ นอกจากพระเจ้า เป็นผลให้พวกเขาปฏิเสธที่เชื่อฟังเจ้าหน้าที่ของโรมัน พวกซีลอตได้กระตุ้นชาวยิวกลุ่มเดียวกันให้ลุกขึ้นต่อต้านชาวโรมัน ความตึงเครียดระหว่างชาวยิวและชาวโรมันก็เพิ่มมากขึ้น ชาวยิวที่นำโดยพวกซีลอตก็ได้ต่อสู้อย่างดุเดือด
ในที่สุด การปฏิวัติต่อชาวโรมันของชาวยิวก็ไม่ประสบผลสำเร็จ การปฏิวัติดำรงอยู่เป็นเวลา 4 ปี และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ในขณะที่การต่อสู้สิ้นสุดลง กรุงเยรูซาเลมก็มีแต่ซากปรักหักพัง สงครามทำให้สิ่งก่อสร้างเสียหายมากมายและทำให้สิ่งมีชีวิตสูญเสียมากมาย การทำลายล้างชาวยิวที่มากยิ่งกว่านั้น ก็คือความจริงที่ว่า ชาวโรมันได้เผาพระวิหารที่สอง (The Second Temple) ในช่วงเวลาวันสุดท้ายแห่งการต่อสู้ใน ค.ศ. 70 ดังข้อความว่า:
“ในขณะที่เปลวเพลิงลุกโพลงขึ้น ชาวยิวก็ตะโกนขึ้นอย่างดัง ประหนึ่งว่าได้รับความเจ็บปวดรวดร้าวอย่างแรงกล้าและวิ่งไปพร้อมกันเพื่อปกป้องพระวิหารนั้น และบัดนี้ พวกเขาก็ไม่หวงแหนชีวิตของพวกเขาอีกต่อไป ทั้งไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ ที่จะยับยั้งพลังของพวกเขา นับตั้งแต่วิหารอันศักดิ์สิทธิ์พังพินาศลง”
- ฟลาวิอุส โจเซพุส, The Wars of the Jews
หลังจากวิหารถูกทำลาย ชาวยิวส่วนใหญ่สูญเสียความตั้งใจที่จะต่อสู้และก็ยอมแพ้ แต่ชาวยิวส่วนน้อยปฏิเสธที่จะยกเลิกการต่อสู้ของตนเอง กลุ่มเล็กน้อยของพวกคลั่งศาสนานั้นได้ขังตัวอยู่ในป้อมปราการบนยอดเขาที่เรียกว่า มาซาดา (Masada)
ด้วยความมุ่งมั่นที่ทำลายการปฏิวัติให้ย่อยยับ ชาวโรมันจึงส่งทหาร 15,000 นายไปจับตัวพวกซีลอต แต่อย่างไรก็ตาม ป้อมมาซาดาเข้าถึงยากลำบาก  ชาวโรมันจึงต้องสร้างทางลาดดินและหินขนาดใหญ่เพื่อเข้าไปสู่ป้อมนั้น เป็นเวลา 2 ปีที่พวกซีลอตไม่ยอมแพ้ ในขณะที่ทางลาดก็พัฒนาขึ้น ในที่สุด ชาวโรมันก็ค้นพบกำแพงของป้อมมาซาดา พวกซีลอตก็ได้ทำลายชีวิตของตนเอง พวกเขาปฏิเสธที่จะเป็นทาสของโรมัน

ผลของการปฏิวัติ
เมื่อทหารโรมันยึดป้อมมาซาดาได้ใน ค.ศ. 73 (พ.ศ. 616) การปฏิวัติของชาวยิวก็สิ้นสุดลง เพื่อเป็นการลงโทษการปฏิวัติของชาวยิว ชาวโรมันจึงได้ฆ่าประชากรของเยรูซาเลมเป็นจำนวนมาก พวกเขาได้นำชาวยิวที่รอดชีวิตจำนวนมากไปยังกรุงโรมเพื่อเป็นทาส ชาวโรมันได้ทำลายโครงสร้างอำนาจของชาวยิวและยึดเมืองหลวง
นอกจากผู้ที่ถูกจับมาเป็นทาสแล้ว ชาวยิวหลายพันคนก็อพยพออกจากกรุงเยรูซาเลมหลังจากทำลายพระวิหารที่สอง เมื่อพระวิหารถูกทำลาย พวกเขาจึงไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ในกรุงเยรูซาเลมอีกต่อไป ชาวยิวจำนวนมากได้อพยพไปยังชุมชนของชาวยิวในส่วนอื่น ๆ ของจักรวรรดิโรมัน จุดหมายร่วมกันแห่งเดียวคือเมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์ ซึ่งมีชุมชนชาวยิวที่ใหญ่ ประชากรของชุมชนชาวยิวเหล่านี้เจริญเติบโตขึ้นหลังจากชาวโรมันทำลายกรุงเยรูซาเลม


การปฏิวัติครั้งที่สอง
อย่างไรก็ตาม ชาวยิวบางพวกเลือกที่จะไม่อพยพออกจากกรุงเยรูซาเลมในขณะที่ชาวโรมันพิชิตกรุงเยรูซาเลม ประมาณ 60 ปีหลังจากยึดป้อมมาซาดา ชาวยิวเหล่านี้ ไม่พอใจกับการปกครองของชาวโรมัน จึงเริ่มก่อการปฏิวัติอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพโรมันก็ได้รับชัยชนะเหนือชาวยิวอีกครั้ง หลังจากการปฏิวัติครั้งนี้ในศตวรรษที่ 130 ชาวโรมันได้สั่งห้ามชาวยิวทุกคนออกจากกรุงเยรูซาเลม เจ้าหน้าที่โรมันประกาศว่า ชาวยิวคนใดที่ถูกจับในหรือใกล้เมืองหลวงจะถูกฆ่า เป็นผลให้การอพยพของชาวยิวทั่วภูมิภาคทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีจำนวนมากขึ้น

การอพยพและการเลือกปฏิบัติ
เนื่องจากชาวยิวไม่ได้อาศัยอยู่ในกรุงเยรูซาเลม ธรรมชาติของศาสนายูดาห์จึงเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากชาวยิวไม่มีวิหารสำหรับปฏิบัติศาสนกิจมาเป็นเวลานาน โบสถ์ในท้องถิ่นจึงมีความสำคัญมาก ในเวลาเดียวกันนั้น ผู้นำที่เรียกว่า Rabbis หรือครูสอนศาสนา จึงมีบทบาทยิ่งใหญ่ขึ้นในการแนะนำชาวยิวในการดำเนินชีวิตด้านศาสนาของพวกเขา ครูสอนศาสนามีความรับผิดชอบในการแปลคัมภีร์โทราห์และคำสอน
การเปลี่ยนแปลงนี้มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการกระทำของโยฮันนัน เบน ซักกาอิ (Yohanan ben Zakkai) ครูสอนศาสนาผู้ที่ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นที่ยัฟเนห์ (Yavneh) ใกล้กรุงเยรูซาเลม ในโรงเรียนแห่งนี้ เขาได้สอนประชาชนเกี่ยวกับศาสนายูดาห์และฝึกอบรมพวกเขาให้เป็นครูสอนศาสนา ด้วยอิทธิพลของโยฮันนัน แนวความคิดครูสอนศาสนาจึงเกิดขึ้นว่า ทำอย่างไรศาสนายูดาห์จึงจะได้รับความเคารพนับถือเป็นเวลาหลายศตวรรษถัดมา ครูสอนศาสนาจำนวนมากยังบริการในฐานะเป็นผู้นำชุมชนชาวยิวอีกด้วย
           เมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวยิวได้อพยพออกจากภูมิภาคทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังส่วนอื่น ๆ ของโลก ในหลายกรณี การอพยพนี้ไม่ได้เป็นไปโดยสมัครใจ ชาวยิวถูกบังคับให้อพยพโดยกลุ่มศาสนาอื่น ๆ ที่แบ่งแยกเชื้อชาติพวกเขาหรือไม่มีความยุติธรรมต่อพวกเขา ชาวยิวถูกบังคับให้อพยพออกจากเมืองหลวงและค้นพบสถานที่แห่งใหม่ในการดำเนินชีวิต เป็นผลให้ชาวยิวพวกบางตั้งหลักแหล่งในเอเชีย รัสเซียและในสหรัฐในยุคต่อมาเป็นจำนวนมาก







ประเพณีวัฒนธรรมสองสาย
การกระจัดกระจายของชาวยิวไปทั่วโลก เรียกว่า การพลัดถิ่น (the Diaspora) เริ่มขึ้นหลังจากเชลยศึกบาบิโลนเมื่อศตวรรษที่ 500 ก่อนคริสตกาล หลังจากเวลานั้น ชุมชนชาวยิวได้พัฒนาไปทั่วทั่วโลก
ชาวยิวในสถานที่ทุกแห่งได้ใช้ความเชื่อพื้นฐานของศาสนายูดาห์ร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น ชาวยิวทั้งหมดยังคงเชื่อในพระเจ้าและพยายามเชื่อกฎหมายของพระเจ้าในฐานะเป็นจุดเริ่มคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ แต่ชุมชนในสถานที่ต่าง ๆ ของโลกมีวัฒนธรรมประเพณีแตกต่างกัน เป็นผลให้ชุมชนชาวยิวในส่วนต่าง ๆ ของโลกเริ่มจะวิวัฒนาการภาษา พิธีกรรม และวัฒนธรรมของตนเอง ความแตกต่างเหล่านี้ได้นำไปสู่การสร้างสรรค์ประเพณีวัฒนธรรมหลักสองสาย ซึ่งทั้งสองสายก็ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

ชาวยิวในยุโรปตะวันออก
ในบรรดาประเพณีวัฒนธรรมสองสายนั้น สายหนึ่ง คือ อัชเคนาซิมหรืออัชเคนาซิ  (Ashkenazim/ Ashkenazi)  วิวัฒนาการมากจากลูกหลานของชาวยิวที่อพยพไปยังประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และยุโรปตะวันออกในช่วงการพลัดถิ่น ส่วนมากชาวยิวเหล่านี้มีชุมชนที่แยกจากเพื่อนบ้านที่ไม่ใช่ชาวยิว ดังนั้น พวกเขาจึงได้พัฒนาวัฒนธรรมประเพณีของตนเองไม่เหมือนกับของเพื่อนบ้านเลย ตัวอย่างเช่น พวกเขาได้พัฒนาภาษาของตนเอง เป็นภาษา ยิดดิช (Yiddish) ภาษายิดดิช คล้ายกับภาษาเยอรมนีแต่เขียนด้วยอักษรฮิบรู

ชาวยิวในสเปนและโปรตุเกส
วัฒนธรรมประเพณีของชาวยิวอีกพวกหนึ่งได้พัฒนาในช่วงการพลัดถิ่นในสเปนและโปรตุเกสปัจจุบันในยุโรปตะวันตก ลูกหลานของชาวยิว ณ ที่นั้นเรียกว่า เซฟาร์ดิมหรือเซฟาร์ดี (Sephardim/Sephardi) พวกเขายังมีภาษาของตนเอง คือ ลาดิโน (Ladino) อีกด้วย ซึ่งเป็นภาษาที่ผสมภาษาสเปน ฮิบรูและอารบิกเข้าด้วยกัน เซฟาร์ดิมไม่เหมือนอัชเคนาซิม ผสมผสานกับประชาชนที่ไม่ใช่ชาวยิวในภูมิภาคได้  เป็นผลให้ข้อปฏิบัติทางศาสนาและวัฒนธรรมเซฟาดิมยืมรากฐานมาจากวัฒนธรรมอื่น ๆ เมื่อรู้จักการประพันธ์และปรัชญาของตนเอง ชาวเซฟาร์ดิมจึงได้สร้างยุคทองแห่งวัฒนธรรมยิวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 1000 – 1100  ในช่วงนี้ ยกตัวอย่างเช่น นักกวีชาวยิวได้เขียนงานประพันธ์ที่สวยงามในภาษาฮิบรูและภาษาอื่น ๆ นักวิชาการชาวยิวยังได้สร้างความก้าวหน้าในด้านคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ แพทยศาสตร์ และปรัชญาเป็นจำนวนมาก

ประเพณีและวันสำคัญทางศาสนา
วัฒนธรรมของยิวเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดสายหนึ่งในโลก เนื่องจากรากฐานของชาวยิวย้อนไปไกลมาก ชาวยิวจำนวนมากจึงมีความรู้สึกเชื่อมต่อกับอดีตได้อย่างเข้มแข็ง พวกเขายังมีความรู้สึกว่า การเข้าใจประวัติศาสตร์ของตนเองจะช่วยให้ปฏิบัติตามคำสอนของชาวยิวได้ดีกว่าด้วย ประเพณีและวันสำคัญทางศาสนาของพวกเขา ช่วยให้พวกเขาเข้าใจและยกย่องประวัติศาสตร์ของตนเอง

ฮานักกาห์ (Hanukkah)
ประเพณีของชาวยิวอย่างหนึ่งได้รับการเฉลิมฉลองโดยชาวฮานุกกาห์ (Hanukkah) ซึ่งตกอยู่ในเดือนธันวาคม เป็นการให้เกียรติการสร้างอุทิศพระวิหารที่สองขึ้นมาใหม่ในระหว่างการปฏิวัติของมัคคาบีส์ (Maccabees)

มัคคาบีส์ต้องการฉลองชัยชนะอันยิ่งใหญ่ซึ่งทำให้มีความเชื่อมั่นในผู้ปกครองที่ไม่ใช่ยิวจะช่วยพวกเขารักษาศาสนาไว้ได้ ตามตำนานกล่าวว่า แม้มัคคาบีส์จะไม่มีน้ำมันตะเกียงเพียงพอในการปฏิบัติพิธีอุทิศตนครั้งใหม่ น้ำมันที่พวกเขามีอยู่ พอเพียงสำหรับวันเดียวเท่านั้น แต่จุดไฟได้เป็นเวลาแปดวันเต็มอย่างน่ามหัศจรรย์
ปัจจุบันชาวยิวได้เฉลิมฉลองเหตุการณ์นี้ด้วยการจุดเทียนในเชิงเทียนที่เรียกว่า เมโนราห์ (Menorah) กิ่ง 8 กิ่งเป็นตัวแทนวัน 8 วัน ที่น้ำมันเผาไหม้อยู่ตลอด ชาวยิวจำนวนมากยังได้แลกเปลี่ยนของขวัญในแต่ละคืนในบรรดา 8 คืนนั้นด้วย

วันหยุดเพื่อระลึกถึงการอพยพของชาวยิวจากอียิปต์ (Passover) หรือปัสคา
วันหยุดเพื่อระลึกถึงการอพยพของชาวยิวที่สำคัญมากกว่าฮานุกกาห์สำหรับชาวยิว คือ วันที่เฉลิมฉลองในเดือนมีนาคม หรือ เดือนเมษายน  วันหยุดเพื่อระลึกถึงการอพยพของชาวยิวจากอียิปต์ (Passover) คือช่วงเวลาที่ชาวยิวระลึกถึงพระธรรมอพยพ ซึ่งเป็นการเดินทางออกจากความเป็นทาสในอียิปต์ของชาวอิสราเอล
ตามประเพณีของชาวยิว ชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์เร็วมากจนกระทั่งช่างทำขนมปังไม่มีเวลาจะปล่อยให้ขนมปังฟูขึ้น ดั้งนั้น ในช่วงวันหยุดเพื่อระลึกถึงการอพยพ ชาวยิวจึงรับประทานเพียง matzo ซึ่งเป็นขนมปังแผ่นบาง ไม่ฟูขึ้น เท่านั้น พวกเขายังฉลองวันสำคัญทางศาสนา ด้วยอาหารในพิธีการและพิธีกรรมที่เรียกว่า เซเดอร์ (seder) ในช่วงพิธีเซเดอร์ ผู้เข้าร่วมพิธีจะระลึกถึงและย้อนเหตุการณ์แห่งหนังสืออพยพ

วันบริสุทธิ์สูง (High Holy Days)
พิธีการและพิธีกรรมยังเป็นส่วนหนึ่งของวัน High Holy Days ซึ่งเป็นวันที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด จำนวน 2 วัน ในบรรดาวันสำคัญทางศาสนาทั้งหมดของชาวยิว พวกเขาจะจัดขึ้นในแต่ละปีในเดือนกันยายนหรือตุลาคม สองวันแรกแห่งการเฉลิมฉลอง เรียกว่า เทศกาลรอช ฮาชชะนาห์ (Rosh Hashanah) จะเป็นการฉลองวันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินของชาวยิว
ในเทศกาล ยม คิปปูร์ (Yom Kippur) ซึ่งห่างจากเทศกาลรอช ฮาชชะนาห์ไม่นาน ชาวยิวถือว่า เทศกาลยม คิปปูร์ เป็นวันที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของทุก ๆ ปี เนื่องจากเป็นวันที่สำคัญมาก ชาวยิวจึงไม่รับประทานหรือดื่มอะไรเลยตลอดทั้งวัน พิธีการมากมายที่พวกเขาปฏิบัติในเทศกาลยม คิปปูร์นับย้อนไปถึงยุคของพระวิหารที่สอง พิธีการเหล่านี้ช่วยให้ชาวยิวจำนวนมากรู้สึกมีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับอดีตอันยาวไกลของตนเอง จนถึงยุคของอับราฮัมและโมเสส



          วันพาสโอเวอร์ (Passover) ให้เกียรติหนังสืออพยพหรือพระธรรมอพยพ (the Exodus) ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาวยิว ในการยกย่องเหตุการณ์นี้นับตั้งแต่ในอดีตของพวกเขา ชาวยิวจะแบ่งปันอาหารมื้อพิเศษ ที่เรียกว่า เซเดอร์ เป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของหนังสืออพยพ ยกตัวอย่างเช่น สมุนไพรรสขม เป็นตัวแทนของปีที่ขมขื่นแห่งความเป็นทาสในอียิปต์ของชาวอิสราเอล ก่อนรับประทานอาหารมื้อนั้น ทุก ๆ คนจะอ่านบทสวดมนต์จากหนังสือ ที่เรียกว่า ฮักกาดาห์ (Haggadah)  หนังสือนั้นเล่าเรื่องราวแห่งหนังสืออพยพหรือพระธรรมอพยพและเตือนสติทุก ๆ คนให้เสนอประวัติศาสตร์ของชาวยิว ภาพนี้แสดงถึงพิธีเซเดอร์ (seder) ในการลอกเลียนแบบหนังสือฮักกาดาห์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1300