กรีซกับเปอร์เซีย

กรีซกับเปอร์เซีย
เปอร์เซียกลายเป็นจักรวรรดิ
ในขณะที่ชาวเอเธนส์กำลังย่างก้าวแรกไปสู่การสร้างประชาธิปไตย อำนาจใหม่กำลังเกิดขึ้นในด้านตะวันออก อำนาจนั้น คือจักรวรรดิเปอร์เซีย ต่อมาจะเข้าโจมตีกรีซ แต่ในยุคต้นประวัติศาสตร์ ชาวเปอร์เซียเป็นกลุ่มชนเร่ร่อนยังไม่ได้รวมตัวกัน มีผู้นำที่มีทักษะ เช่น พระเจ้าไซรัสมหาราชและพระเจ้าดาไรอัสที่ 1 ในการเปลี่ยนแปลงสถานะนั้น ชาวเปอร์เซียได้สร้างจักรวรรดิที่ใหญ่โตมหึมา ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาจักรวรรดิโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ภายใต้การปกครองของผู้นำเหล่านี้

พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)
ในประวัติศาสตร์ยุคแรก ชาวเปอร์เซียต่อสู้กับชนชาติอื่น ๆ ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ บางครั้งก็พายแพ้ ตามความจริง ชาวเปอร์เซียพ่ายแพ้ในการต่อสู้กับชนชาติที่เรียกว่า มีดส์ (Medes) และถูกชนชาตินั้นปกครองเป็นเวลา 150 ปี อย่างไรก็ตาม เมื่อ 550 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าไซรัสที่ 2 (Cyrus II) ได้เป็นผู้นำชาวเปอร์เซียปฏิวัติชาวมีดส์ การปฏิวัติประสบผลสำเร็จ พระเจ้าไซรัสได้นำอิสรภาพมาให้กับเปอร์เซียและพิชิตชนชาติมีดส์ ชัยชนะของพระองค์เป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นจักรวรรดิเปอร์เซีย
เมื่อมองดูแผนที่ พระเจ้าไซรัสจะพิชิตเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นสวนมาก รวมทั้งเอเชียไมเนอร์เกือบทั้งหมด ในรัชสมัยของพระองค์ เมืองกรีกที่พระเจ้าไซรัสยึดได้ก็รวมอยู่ในภูมิภาคนี้ด้วย ครั้นแล้วพระองค์ก็ยาตราทัพไปทางใต้เพื่อพิชิตดินแดนเมโสโปเตเมีย
พระเจ้าไซรัสยังได้รวมดินแดนเข้ากับตะวันออก พระองค์ได้นำกองทัพเข้าไปในเอเชียกลางสู่แม่น้ำยาซาร์เตส (Jaxartes River) ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำซีร์ดาร์ยา (Syr Darya) เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อประมาณ 529 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าไซรันได้ปกครองจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดซึ่งโลกเคยมีมา
พระเจ้าไซรัสได้อนุญาตให้ผู้คนที่พระองค์พิชิตมารักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของพวกเขาเอง พระองค์ทรงว่า ข้อนี้น่าจะทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะก่อการกบฎน้อยลง ผู้คนจำนวนเล็กน้อยก่อกบฏพระเจ้าไซรัส และจักรวรรดิของพระองค์ก็ยังคงเข้มแข็ง เนื่องจากความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ นักประวัติศาสตร์จึงเรียกพระองค์ว่า พระเจ้าไซรัสมหาราช

กองทัพเปอร์เซีย
พระเจ้าไซรัสประสบผลสำเร็จในการพิชิตของพระองค์ เนื่องจากกองทัพของพระองค์เข้มแข็ง กองทัพของพระองค์เข้มแข็งเพราะมีการจัดการที่ดีและมีความจงรักภักดี
ในใจกลางกองทัพของเปอร์เซียมีทหากล้าตาย จำนวน 10,000 คนที่ถูกเลือกมาด้วยความกล้าหาญและทักษะของพวกเขา นอกจากทหารกล้าตายแล้ว กองทัพยังมีทหารม้าทรงพลานุภาพ ทหารม้าคือหน่วยทหารที่ขี่ม้า พระเจ้าไซรัสใหล้ทหารม้าของพระองค์เพื่อโจมตีศัตรูและยิงศัตรูด้วยลูกศร ยุทธวิธีนี้ทำให้ศัตรูอ่อนแอก่อนที่หน่วยกล้าตายจะเข้าโจมตี ด้วยการทำงานร่วมกัน ทหารม้าและทหารกล้าตายสามารถปราบศัตรูได้เกือบทั้งหมด

จักรวรรดิเปอร์เซียเจริญเติบโตแข็งแกร่ง
แคมไบซีน (Cambyses) โอรสของพระเจ้าไซรัสก็ขยายดินแดนจักรวรรดิเปอร์เซียต่อไปหลังจากพระเจ้าไซรัสสิ้นพระชนม์ ยกตัวอย่างเช่น พระองค์ได้พิชิตอียิปต์และผนวกเข้ากับจักรวรรดิ แม้ว่าหลังจากนั้นไม่นาน การก่อการกบฏเริ่มก่อตัวขึ้นในเปอร์เซีย ในช่วยการก่อการกบฏนี้ พระเจ้าแคมไบซีสได้สิ้นพระชนม์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ได้ทิ้งให้เปอร์เซียปราศจากผู้นำที่ชัดเจน
ภายในระยะเวลา 4 ปี กษัตริย์หนุ่มนามว่า ดาไรอัสที่ 1 (Darius I) ก็เรียกร้องราชบัลลังก์และสังหารคู่แข่งของพระองค์เพื่อแย่งอำนาจ  ทันทีที่พระองค์ครองบัลลังก์อย่างมั่นคง พระเจ้าดาไรอัสก็ทรงดำเนินการฟื้นฟูระเบียบในเปอร์เซีย พระองค์ยังได้ปรับปรุงสังคมเปอร์เซียและขยายอาณาจักรด้วย

การจัดระบบทางด้านการเมือง
พระเจ้าดาไรอัสได้จัดระบบจักรวรรดิด้วยการแบ่งเป็น 20 จังหวัด ครั้นแล้วพระองค์ก็ทรงเลือกผู้ว่าราชการจังหวัด satraps (ข้าหลวง) ให้ไปปกครองจังหวัดแทนพระองค์ ข้าหลวงจะเก็บสะสมภาษีไว้ให้กับพระเจ้าดาไรอัส ซึ่งได้รับบริการในฐานะเป็นผู้พิพากษา และให้ปราบกบฏในดินแดนของพระองค์ ข้าหลวงมีอำนาจมากภายในจังหวัดของตนเอง แต่พระเจ้าดาไรอัสยังคงเป็นผู้ปกครองจักรวรรดิที่แท้จริง เจ้าหน้าที่ของพระองค์จะไปเยี่ยมแต่ละจังหวัดเพื่อความมั่นใจข้างหลวงจะมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าดาไรอัส พระองค์จะเรียกตัวพระองค์เองว่าเป็นกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหลาย (King of kings) เพื่อทำให้นักปกครองคนอื่น ๆ ให้ระลึกถึงอำนาจพระองค์








สังคมชาวเปอร์เซีย
หลังจากพระเจ้าดาไรอัสได้ฟื้นฟูนระเบียบให้กับจักรวรรดิ พระองค์ก็ได้ดำเนินการปรับปรุงสังคมชาวเปอร์เซีย ยกตัวอย่างเช่น พระองค์ได้สร้างถนนมากมาย
ดาไรอัสรับสั่งให้สร้างถนนเชื่อมต่อส่วนต่าง ๆ ของจักรวรรดิ เหล่าผู้ส่งสาส์นได้ใช้ถนนเหล่านี้สัญจรไปทั่วเปอร์เซียได้อย่างรวดเร็ว ถนนสายหนึ่ง เรียกกันว่า ถนนสายเปอร์เซีย (the Royal Road หรือ Persian Royal Raod)  มีความยาวมากกว่า 1,700 ไมล์ (ประมาณ 3,153 กิโลเมตร) แม้แต่ศัตรูของเปอร์เซียก็นิยมชมชอบถนนเหล่านี้และระบบการส่งสาส์นของเปอร์เซีย ยกตัวอย่างเช่น นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกท่านหนึ่งเขียนไว้ว่า:
“ไม่มีสิ่งใดที่มนุษย์สัญจรไปได้รวดเร็วมากเท่ากับเหล่านักส่งสาส์นชาวเปอร์เซียเหล่านี้...ไม่มีสิ่งใดจะมาขัดขวางคนเหล่านี้ให้ประสบผลสำเร็จ ณ สถานที่ห่างไกลด้วยความเร็วที่ดีที่สุดของพวกเขา ซึ่งพวกเขาจะต้องเดินทางไป ไม่ว่าจะเป็นหิมะ หรือฝน หรือความร้อน หรือความมืดในเวลากลางคืน”
 - เฮอรอโดทัส จาก ประวัติศาสตร์สงครามเปอร์เซีย
พระเจ้าดาไรอัสยังได้สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ให้กับจักรวรรดิ เรียกว่า  แพร์ซโพลิส (Persepolis) พระเจ้าดาไรอัสต้องการให้เมืองหลวงของพระองค์สะท้อนถึงความรุ่งเรืองของจักรวรรดิของพระองค์ ดังนั้น พระองค์จึงได้เพิ่มเติมงานด้านศิลปะอันงดงาม ตัวอย่างเช่น ภาพแกะสลัก 3,000 ภาพ เหมือนกับภาพด้านบนจำนวนหนึ่งที่เขียนลงบนกำแพงเมือง รูปปั้นทั่วเมืองหลวงระยิบระยับไปด้วยทองคำ เงิน และเครื่องเพชรพลอยอันมีค่า
ในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัส มีศาสนาใหม่ ๆ เกิดขึ้นในจักรวรรดิเปอร์เซียด้วย ศาสนานี้ เรียกกันว่า โซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) มีคำสอนว่า มีอำนาจสองอำนาจต่อสู้กันเพื่อควบคุมจักรวาล อำนาจหนึ่งคือความดี อำนาจหนึ่งคือความชั่ว นักบวชในศาสนานี้เตือนให้ผู้คนเข้าข้างความดี ศาสนานี้ได้รับความนิยมในเปอร์เซียเป็นเวลาหลายศตวรรษ

การขยายอาณาเขตของเปอร์เซีย
          พระเจ้าดาไรอัสมีความประสงค์ให้จักรวรรดิเปอร์เซียมีความเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับพระเจ้าไซรัส ในด้านตะวันออก พระองค์ได้พิชิตลุ่มแม่น้ำสินธุได้ทั้งหมด พระองค์ยังพยายามขยายจักรวรรดิไปด้านทิศตะวันตกเข้าไปสู่ยุโรป อย่างไรก็ตาม ก่อนที่พระเจ้าดาไรอัสจะเคลื่อนทัพไปไกลมากจนถึงยุโรป พระองค์ได้ขับเคี่ยวกับการปฏิวัติในจักรวรรดิ

ชาวเปอร์เซียต่อสู้กับกรีซ
เมื่อ 499 ปีก่อนคริสตกาลเมืองของกรีกจำนวนมากในเอเชียไมเนอร์ได้ก่อการปฏิวัติการปกครองของเปอร์เซีย  นครรัฐสองสามแห่งบนกรีซแผ่นดินใหญ่ได้ส่งทหารเข้าร่วมต่อสู้กับเปอร์เซีย เพื่อช่วยเหลือกรีกที่เป็นมิตรภาพ
ชาวเปอร์เซียได้ปราบปรามการปฏิวัติ แต่พระเจ้าดาไรอัสยังคงทรงพิโรธชาวกรีก แม้ว่าหลายเมืองที่ก่อการกบฏจะอยู่ในเอเชียก็ตาม พระเจ้าดาไรอัสก็ทรงพิโรธว่า ชาวกรีกพวกอื่น ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวกรีกเหล่านั้น พระองค์ได้ยืนยันว่าจะแก้แค้นชาวกรีก






สงครามมาราธอน (The Battle of Marathon)
          เป็นเวลา 9 ปีหลังจากหลายเมืองในกรีกก่อการกบฏ พระเจ้าดาไรอัสก้ได้บุกรุกกรีซ พระองค์และกองทัพได้แล่นเรือไปยังที่ราบมาราธอน (the plains of Marathon) ใกล้กรุงเอเธนส์ การบุกรุกนี้เริ่มก่อนสงครามเป็นระลอก ๆ ระหว่างเปอร์เซียกับกรีซ ซึ่งนักประวัติศาสตร์เรียกว่า สงครามเปอร์เซีย (the Persian Wars)
กองทัพเอเธนส์มีทหารประมาณ 11,000 คนเท่านั้น ในขณะที่เปอร์เซียมีทหารประมาณ 15,000 คน แต่อย่างไรก็ตาม กรีกก็ชนะสงคราม เนื่องจากพวกเขามีอาวุธที่ดีกว่าและผู้นำที่ฉลาดกว่า
ตำนานกล่าวไว้ว่า ผู้ส่งสาส์นได้วิ่งจากที่ราบมาราธอนไปถึงกรุงเอเธนส์ไกลมากกว่า 26 ไมล์ (ประมาณ 46 กิโลเมตร) เพื่อนำข่าวชัยชนะอันยิ่งใหญ่ไปบอกชาวเอเธนส์ หลังจากที่เขาตะโกนว่า “น่ายินดี..! พวกเราชนะแล้ว” เขาก็ล้มลงสิ้นใจตายที่พื้นดินด้วยความเหน็ดเหนื่อย

การรุกรานกรีกครั้งที่สอง
10 ปีหลังจากสงครามมาราธอน โอรสของพระเจ้าดาไรอัส พระเจ้าเซอร์ซีสที่ 1 (Xerxes I) พยายามพิชิตกรีซอีกครั้ง เมื่อ 480 ปีก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียเริ่มออกเดินทางไปยังกรีซ ครั้งนี้พวกเขาได้ร่วมมือกับทหารเรือเปอร์เซีย
ชาวกรีกเตรียมป้องกันบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ครั้งนี้ สปาร์ตาซึ่งเป็นนครรัฐที่ทรงอำนาจในตอนใต้ของกรีซ ได้ร่วมมือกับเอเธนส์ ชาวสปาร์ตามีกองทัพที่เข้มแข็งที่สุดในกรีซ ดังนั้น พวกเขาจึงเดินทางไปต่อสู้กับกองทัพเปอร์เซีย ในขณะที่ชาวเอเธนส์ได้ส่งทหารเรือที่เข้มแข็งไปต่อสู้กับทหารเรือเปอร์เซีย
เพื่อทำให้กองทัพเปอร์เซียล่าช้า ชาวสปาร์ตาจึงส่งทหารประ 1,400 คน ไปยังเทอร์มีลี (Thermopylae) ซึ่งเป็นช่องเขาแคบ ๆ ชาวเปอร์เซียต้องเดินทางข้ามช่องเขาไปต่อสู้กับหลายเมืองของกรีก เป็นเวลา 3 วัน กองกำลังเล็ก ๆ ของกรีกทำให้กองทัพเปอร์เซียล่าช้าออกไป ครั้นแล้ว ชาวเปอร์เซียก็ขอร้องให้ทหารกบฎของกรีกนำพวกเขาออกไปทางช่องแคบอีกทางหนึ่ง กองทัพเปอร์เซียขนาดใหญ่ได้โจมตีสปาร์ตาทางด้านหลัง ชาวสปาร์ตาผู้กล้าหาญเมื่อถูกล้อมไว้และพันธมิตรสู้ตาย หลังจากชนะสงคราม ชาวเปอร์เซียได้กวาดล้างไปจนถึงกรุงเอเธนส์ ด้วยการโจมตีและเผาเมือง

แม้ว่าชาวเปอร์เซียจะได้รับชัยชนะสงครามในช่องแคบ ชาวกรีกก็ทวงความได้เปรียบคืนมาอย่างรวดเร็ว สองสามวันหลังจากกรุงเอเธนส์ถูกเผา ชาวเอเธนส์ก็ตีทหารเรือเปอร์เซียจนพ่ายแพ้ด้วยแผนการที่หลักแหลมกว่า พวกเขานำกองทัพเรือที่ใหญ่กว่าไปยังช่องแคบแซลามิส (Salamis) ชาวเปอร์เซียมีเรือมากมายจนกระทั่งพวกเขาไม่สามารถควบคุมเรือได้ดีในช่องแคบนั้น เป็นผลให้เรือของชาวเอเธนส์ที่มีกำลังน้อยกว่าทำให้เรือของชาวเปอร์เซียจมลงมากมายหลายลำ เรือที่ไม่ถูกทำลายในไม่ช้าก็เดินทางกลับสู่บ้าน
ในไม่ช้าหลังจากสงครามแซลามิส กองทัพทหารจากทั่วทุกแห่งของกรีซก็ตีเปอร์เซียจนแตกที่พลาตาเอ (Plataea) สงครามครั้งนี้ทำให้สงครามเปอร์เซียสิ้นสุดลง เมื่อได้รับความพ่ายแพ้ ชาวเปอร์เซียก็เดินทางออกจากกรีซ
สำหรับชาวเปอร์เซียแล้ว การพ่ายแพ้ครั้งนี้เป็นการเสียเกียรติ แต่ก็ไม่ใช่การโจมตีที่สำคัญ จักรวรรดิของพวกเขาก็ยังเข้มแข็งเป็นเวลามากกว่าศตวรรษหลังจากสงคราม สำหรับกรีก แม้ว่าความพ่ายแพ้ของเปอร์เซียคือชัยชนะ พวกเขาก็ได้ปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองไว้ได้










สงครามเปอร์เซีย
          แจกันใบนี้แสดงให้เห็นเหล่าทหารของเปอร์เซียและเหล่าทหารของกรีก ต่อสู้กันจนถึงตาย ในช่วงสงครามเปอร์เซีย ชาวกรีกได้ป้องกันบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองจากการบุกรุกอย่างมโหฬารของเปอร์เซียอย่างดุเดือด