ตำนานและวรรณคดีกรีก
|
||
เทพปกรณัมอธิบายเรื่องโลก
ขาวกรีกโบราณเชื่อว่ามีเทพเจ้ามากมายหลายองค์
เทพเจ้าเหล่านี้อยู่ที่ศูนย์กลางของเทพปกรณัมกรีก ซึ่งเป็นใจความสำคัญของเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าและเหล่าวีรบุรุษที่พยายามอธิบายเรื่องการสร้างโลก
แต่ละเรื่องหรือแต่ตำนานได้อธิบายเหตุการณ์ทางธรรมชาติและทางประวัติศาสตร์
|
||
เทพเจ้าของกรีก
ปัจจุบันนี้ผู้คนมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง
ๆ เช่น ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด ชาวกรีกโบราณไม่มีเครื่องมือแบบนั้น
พวกเขาเชื่อว่าเทพเจ้าบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ
และพวกเขาได้สร้างตำนานเพื่ออธิบายการกระทำต่าง ๆ ของเทพเจ้า
ภาพด้านล่างนี้ คือ เทพเจ้าที่สำคัญที่สุดของกรีก
1. ซุสหรือซิวส์ (Zeus)
เป็นราชาแห่งเทพทั้งหลาย
2. เทพีเฮรา (Hera)
เป็นราชินีแห่งเทพทั้งหลาย
3. โพไซดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งทะเล
4. ฮาเดส (Hades) เทพเจ้าแห่งนรกโลกันต์
5. ดิมีเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งการเก็บเกี่ยว
6. เฮสเตีย (Hestia)
เทพีแห่งเตาอบหรือบริเวณข้างกองไฟ
7. อะธีนา (Athena) เทพีแห่งปัญญา
8. อะพอลโล (Apollo) เทพเจ้าแห่งดนตรี กวี ศิลปะ
ผู้พยากรณ์ การยิงธนู โรคระบาด แพทยศาสตร์ ดวงอาทิตย์ แสงและความรู้
9. อาร์ทิมิส
(Artemis) เทพีแห่งการล่า
ป่าและเนินเขา ดวงจันทร์และการยิงธนู
10. แอรีส (Ares)
เทพเจ้าแห่งสงคราม
11. แอโฟรไดที (Aphrodite) เทพีแห่งความรัก
ความงามและเพศสภาพ
12. ฮิฟีสตัส (Hephaestus) เทพเจ้าแห่งไฟ งานโลหะ
สิ่งก่อสร้างหิน โรงตีโลหะและประติมากรรมศิลป์
13. ไดโอนีซัส (Dionysus)เทพเจ้าแห่งไวน์
เทศกาลรื่นเริง การละครและปีติสานติ์
14. เฮอร์มีส (Hermes) ผู้แจ้งข่าวแห่งพระเจ้า เทพเจ้าแห่งการค้า
โจร นักเดินทาง กีฬา นักกรีฑา และการข้ามแดน มัคคุเทศก์สู่โลกบาดาล
เทพเจ้ากับเทพปกรณัม
ชาวกรีกเห็นงานของเทพเจ้าทั้งหลายในเหตุการณ์รอบ
ๆ เทพเหล่านั้นทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น
ชาวกรีกอาศัยอยู่ในบริเวณที่ภูเขาไฟระเบิดเป็นปกติ การที่จะอธิบายการระเบิดเหล่านี้
พวกเขาจะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเทพฮิฟีสตัส (Hephaestus) ผู้อาศัยอยู่ใต้ดิน
ชาวกรีกจะเล่าว่า
ไฟและลาวาที่ไหลลงจากภูเขาไฟจะไหลมาจากกองไฟใหญ่มหึมาที่โรงตีเหล็กของเทพเจ้า
ที่โรงตีเหล็กของเทพเจ้า ท่านจะสร้างอาวุธและเสื้อเกราะให้กับเทพเจ้าอื่น ๆ
แม้ว่าชาวกรีกไม่คิดว่าเทพเจ้าจะใช้เวลาทั้งหมดสร้างความหายนะ
พวกเขายังเชื่อว่าเทพเจ้าก่อให้เกิดเหตุการณ์ประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาเชื่อว่า
ดิมีเทอร์เทพีแห่งการเก็บเกี่ยว จะสร้างฤดูกาล ตามตำนานชาวกรีกกล่าวไว้ว่า
เทพีดิมีเทอร์มีธิดาองค์หนึ่งที่ถูกเทพเจ้าอีกองค์หนึ่งลักพาตัวไป เทพีผู้สิ้นหวังได้ขอให้เทพเจ้าปล่อยธิดาของเธอไปและในที่สุดเทพองค์นั้นก็ยินยอมปล่อยธิดากลับไปหามารดาของเธอเป็นเวลาหกเดือน ในทุก ๆ ปี ในช่วงฤดูหนาว
เทพีดิมีเทอร์ก็ถูกแยกออกจากธิดาของหล่อนและพลัดพรากจากธิดา ด้วยความเศร้าโศกเสียหาย
หล่อนจึงไม่ให้พืชพันธุ์ธัญญาหารเจริญเติบโต เมื่อธิดาของหล่อนกลับสู่บ้าน
เทพีจึงมีความสุข และฤดูร้อนจึงหวนมาสู่กรีซ
สำหรับชาวกรีก เรื่องนี้ได้อธิบายเหตุผลที่ว่าฤดูหนาวทำไมถึงเวียนมาทุก ๆ
ปี
|
เพื่อทำให้เทพเจ้าเกิดความสุขสำราญ
ชาวกรีกจึงได้สร้างวิหารอันยิ่งใหญ่เพื่อยกย่องเทพเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดที่อยู่ทั่วกรีซ
อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน
พวกเขาจะคาดหวังให้เทพเจ้าประทานความช่วยเหลือแก่พวกเขาเมื่อพวกเขาต้องการ
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีความต้องการ ชาวกรีกมากมายจะเดินทางไปยังเมืองเดลไฟ
(หรือเดลฟี =
Delphi) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในใจกลางกรีซ ณ เมืองนั้น พวกเขาจะพูดกับเทพพยากรณ์ ซึ่งเป็นนักบวชเพศหญิงของเทพอะพอลโลที่พวกเขาคิดว่าเทพเจ้าจะให้คำตอบ
เทพพยากรณ์ที่เมืองเดลไฟน่าเคารพมากจนกระทั่งบางครั้งผู้นำชาวกรีกขอร้องให้หล่อนแนะนำเกี่ยวกับการปกครองเมืองของตนเอง
วีรบุรุษกับเทพปกรณัม
ตำนานของชาวกรีกไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าเสียไปทั้งหมด
หลายเรื่องบอกเล่าถึงการการผจญของวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ในบรรดาวีรบุรุษเหล่านี้
บางคนก็มีตัวตนจริง ในขณะที่บางคนก็ไม่มีตัวตนจริง ชาวกรีกชอบเล่าเรื่องราวของวีรบุรุษผู้มีความสามารถพิเศษและเผชิญกับปีศาจดุร้าย
ประชาชนแต่ละเมืองมีวีรบุรุษผู้เป็นที่รักของตนเอง
ปกติแล้วบางคนก็มาจากเมืองนั้น
ยกตัวอย่างเช่น
ประชาชนชาวเอเธนส์ก็ได้เล่าเรื่องเกี่ยววีรบุรุษ ชื่อ ธีซุส (หรือธีเซียส = Theseus) ตามตำนานกล่าวไว้ว่า
ธีซุสเดินทางไปยังเกาครีตและฆ่าปีศาจ
ซึ่งเป็นปีศาจเครื่องมนุษย์เครื่องวัวกระทิง ประชาชนจากกรีซตอนเหนือได้เล่าเรื่องเกี่ยวเจสันและวิธีที่เขาแล่นเรือข้ามทะเลในการแสวงหาทรัพย์สมบัติมากมายด้วยการต่อสู้กับศัตรูตลอดทาง
บางทีผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเหล่าวีรบุรุษของกรีกทั้งหมดเป็นชายนามว่า
เฮอร์คิวลีส (Hercules) ตำนานได้พรรณนาวิธีที่เฮอร์คิวลีสต่อสู้กับปีศาจมากมายและปฏิบัติภารกิจที่เกือบจะไม่มีทางเป็นไปได้
ยกตัวอย่างเช่น เขาได้ต่อสู้และฆ่าไฮดรา ซึ่งเป็นงูขนาดใหญ่มหึมามีหัวเก้าหัวและเขี้ยวที่มีพิษ
ทุก ๆ ครั้งที่เฮอร์คิวลีสตัดหัวปีศาจออกทีละหัว
หัวก็จะงอกออกมาแทนมากกว่าสองหัว ในที่สุด เฮอร์คิวลีสต้องเผาคอของไฮดราทุก ๆ
ครั้งที่เขาตัดหัวออกเพื่อไม่ให้หัวใหม่งอกออกมา
ประชาชนจากทุกส่วนของกรีซชอบใจเรื่องราวเกี่ยวกับเฮอร์คิวลีสและภารกิจอันยิ่งใหญ่ของเขา
|
วรรณคดีของกรีกโบราณ
เนื่องจากชาวกรีกชอบตำนานและเรื่องเล่า
จึงไม่ประหลาดที่พวกเขาได้สร้างผลงานทางด้านวรรณคดีมากมาย นักเขียนชาวกรีกยุคแรกได้ให้กำเนิดบทกวีมหากาพย์
บทกวีโรแมนติก และเรื่องราวที่มีชื่อเสียงที่สุดบางเรื่อง
โฮเมอร์ (Homer) กับมหากาพย์
ในบรรดางานเขียนของชาวกรีกยุคแรกสุด
มีมหากาพย์ยิ่งใหญ่สองเรื่อง คือ อีเลียดกับโอดิสซีย์ (the Iliad
and the Odyssey) ซึ่งเขียนโดยนักกวีนามว่า โฮเมอร์ (Homer) บทกวีทั้งสองพรรณนาการกระทำของวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่เหมือนกับมหากาพย์ส่วนใหญ่
วีรบุรุษในบทกวีของโฮเมอร์ได้ต่อสู้ในสงครามกรุงทรอย ในสงครามนี้
ชาวกรีกไมซีเนียได้ต่อสู้กับชาวโทรจัน ซึ่งเป็นประชาชนแห่งกรุงทรอย
มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องราวหลายปีท้ายสุดแห่งสงครามกรุงทรอย
มหากาพย์มุ่งเน้นภารกิจของชาวกรีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อคิลลีส (Achilles) ซึ่งเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดานักรบชาวกรีกทั้งหมด
มหากาพย์โอดิสซีย์พรรณนาการผจญภัยที่วีรบุรุษชาวกรีกนามว่า
โอดิสซุส (Odysseus) ซึ่งเดินทางออกจากการทำสงครามกลับไปยังบ้านเกิด เป็นเวลาสิบปีหลังกสิ้นสุดสงคราม
โอดิสซีย์พยายามกลับบ้าน แต่มีอุปสรรคมากมายรออยู่ข้างหน้า
เขาต้องต่อสู้กับปีศาจดุร้ายมีพลังและเวทมนตร์
และได้ต่อสู้กระทั่งกับเทพเจ้าผู้พิโรธ
ทั้งอีเลียดและโอดิสซีย์เป็นเรื่องราวการผจญภัยอันยิ่งใหญ่
แต่สำหรับชาวกรีกแล้ว บทกวีของโฮเมอร์เป็นมากกว่าความบันเทิง บทกวีทั้งสองนั้นเป็นศูนย์กลางระบบการศึกษาของกรีกโบราณ
ประชาชนท่องจำบทความอันยาวของบทกวีในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน พวกเขาชื่นชมยกย่องบทกวีของโฮเมอร์และวีรบุรุษที่ได้รับการพรรณนาไว้ในบทกวีเหล่านั้นในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของกรีซ
บทกวีของโฮเมอร์มีอิทธิพลต่อนักเขียนในยุคต่อมา
พวกเขาลอกเลียนสำนวนการเขียนของเขาและยืมเอาเรื่องราวบางเรื่องพร้อมทั้งแนวความคิดที่เขาเขียนไว้ในผลงานของเขา
บทกวีของโฮเมอร์ถือว่าเป็นผลงานด้านวรรณคดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีการประพันธ์ขึ้นมา
กวีนิพนธ์ความในใจ (หรือกวีนิพนธ์สะท้อนอารมณ์
=
Lyric Poetry)
กวีคนอื่น ๆ
ได้เขียนบทกวีที่ปกติเริ่มต้นให้กับดนตรี ในระหว่างการเล่นละคร
กวีจะเล่นเครื่องมือที่มีสาย ที่เรียกว่า lyre ในขณะอ่านบทกวี
กวีเหล่านี้จะเรียกกันว่า กวีนิพนธ์ความในใจตามชื่ออุปกรณ์ของพวกเขา คือ lyre
ปัจจุบัน คำร้องของเพลงเรียกกันว่า lyric (เนื้อเพลง)
ตามชื่อกวีชาวกรีกโบราณเหล่านี้
กวีส่วนมากในกรีซเป็นผู้ชาย
แต่กวีนิพนธ์ความในใจที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นผู้หญิงนามว่า แซฟโฟ (Sappho)
บทกวีของหล่อนสวยงามและสะท้อนอารมณ์
บทกวีของหล่อนส่วนมากจะเกี่ยวกับความรักและความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวของหล่อน
นิทาน
ชาวกรีกคนอื่น
ๆ ได้เล่าเรื่องราวที่สอนบทเรียนอันสำคัญให้กับประชาชน ยกตัวอย่างเช่น อีสป (Aesop) มีชื่อเสียงในการเล่านิทาน
นิทานคือเรื่องราวสั้น ๆ
ที่สอนบทเรียนเกี่ยวกับชีวิตให้กับผู้อ่านหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต
ในนิทานของอีสปส่วนมาก
สัตว์จะตัวละครหลัก สัตว์จะพูดได้และมีการกระทำเหมือนกับมนุษย์ เรื่องราวที่มีชื่อเสียงที่สุดของอีสปเรื่องหนึ่ง
คือ เรื่องมดกับตั๊กแตน:
“ในวันหนึ่งของฤดูร้อน
มีตั๊กแตนเกียจคร้านอยู่ตัวหนึ่งกำลังเดินร้องเพลงเพลิดเพลินอย่างมีความสุข
พลันเหลือบไปเห็นฝูงมดกำลังขนเสบียงอาหารกันอย่างขะมักเขม้นจึงเข้าไปกล่าวทักทายว่า “พวกเจ้ากำลังทำอะไรกันอยู่น่ะ
น่าจะหยุดพักแล้วมาร้องเพลงเต้นรำกับข้าดีกว่านะ”
|
มดตัวหนึ่งจึงพูดขึ้นว่า “ทำไมเจ้าถึงไม่รีบสะสมอาหารไว้สำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาเยือนล่ะ” ตั๊กแตนก็ตอบกลับไปอย่างหน้าตาเฉยว่า “เดี๋ยวก่อนก็ได้
อีกตั้งนานกว่าจะถึงฤดูหนาว ตอนนี้ข้าต้องตั้งใจฝึกร้องเพลงก่อน” เมื่อได้ฟังเช่นนั้นพวกมดก็พากันขนอาหารกันต่อไป
เมื่อฤดูหนาวมาถึงตั๊กแตนก็หิวโซเพราะไม่มีอาหารหลงเหลืออยู่เลยแม้แต่น้อย
มันจึงไปขอความช่วยเหลือเหล่ามด มดตัวหนึ่งจึงบอกกับตั๊กแตนว่า “พวกข้าไม่มีอาหารที่จะสามารถแบ่งให้เจ้าได้หรอก
ขอให้เจ้าสนุกสนานกับการร้องเพลงและเต้นรำท่ามกลางอากาศอันหนาวเหน็บก็แล้วกัน”
–Aesop, from “The Ants and the Grasshopper”
บทเรียนในนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
บุคคลไม่ควรทิ้งเวลาไปเปล่า ควรจะทำงานแทน อีสปกล่าวว่า
ผู้ที่ทำอย่างนั้นจะเกิดความเสียใจ
นิทานที่ได้รับความนิยมอีกเรื่องหนึ่งของอีสป
คือ กระต่ายกับเต่า สอนว่า ทำงานอย่างช้า ๆ
และระมัดระวังดีกว่าการทำงานอย่างรีบด่วนและเกิดความผิดพลาด เด็กเลี้ยงแกะ
เตือนผู้อ่านไม่ให้พูดล้อเล่นกับคนอื่น
วรรณคดีกรีกยังคงมีอยู่
ผลงานของนักเขียนกรีกโบราณ
เช่น โฮเมอร์ แซฟโฟ และอีสปก็ยังคงมีอยู่และได้รับความนิยมในปัจจุบัน ความจริง
วรรณคดีกรีกมีอิทธิพลต่อภาษา วรรณคดี และศิลปะสมัยใหม่
ภาษา
บางทีแนวทางที่ชัดเจนที่สุดที่พวกเรามองเห็นอิทธิพลของกรีกก็คือภาษาอังกฤษ
(และภาษาอื่น ๆ ที่ใช้อักษรโรมัน) คำและสำนาวนภาษาอังกฤษมากมายมาจากเทพนิยายกรีก
ยกตัวอย่างเช่น พวกเราเรียกการเดินทางอันยาวไกลว่า “โอดิสซีย์” ตามชื่อโอดิซีอุส
วีรบุรุษผู้เร่ร่อนของบทกวีโฮเมอร์ บางสิ่งที่ใหญ่และมีพลังมากจะเรียกว่า Titanic (ใหญ่โตมหึมา) คำนี้มาจากคำว่า Titans ซึ่งเป็นกลุ่มเทพเจ้าขนาดใหญ่และทรงอำนาจในเทพนิยายกรีก
สถานที่หลายแห่งทั่วโลกในปัจจุบันยังตั้งชื่อตามบุคคลสำคัญในเทพนิยายกรีก
ยกตัวอย่างเช่น เอเธนส์ ตั้งชื่อตามเทพอะธีนา (Athena) ซึ่งเป็นเทพแห่งปัญญา
เทือกเขาแอตลาส (Atlas Mountains) ของแอฟริการ ตั้งชื่อตามยักษ์ในเทพปกรณัมกรีก
ซึ่งพยุงท้องฟ้าไว้ ชื่อของทะเลอีเจียน (Aegean Sea) ตั้งชื่อตามชื่อพระเจ้าอีเจียส
(Aegeus) ซึ่งเป็นกษัตริย์กรีกในตำนาน คำว่า ยุโรป ยังตั้งชื่อตามชื่อบุคคลสำคัญในเทพนิยายกรีก
คือ เจ้าหญิงยุโรปา (princess Europa) แม้สถานที่ในอวกาศก็เกิดมาจากเทพปกรณัม
เช่น ดวงจันร์ของดาวพฤหัสบดี ชื่อ ไอโอ (IO) ก็ตั้งชื่อตามชื่อของธิดาของเทพีองค์หนึ่ง
วรรณคดีและศิลปะ
ตำนานกรีกเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินหลายท่านเป็นเวลาหลายศตวรรษ
เหล่าจิตรกรและปฏิมากรผู้ยิ่งใหญ่จะใช้เทพเจ้าและวีรบุรุษเป็นแบบงานของตนเอง เหล่านักเขียนจะนำเอาเรื่องราวเก่า
ๆ มาเล่าใหม่ บางครั้งจะนำเอามาใส่ไว้ในยุคปัจจุบัน ผู้สร้างภาพยนตร์ยังยืมเรื่องราวจากตำนานโบราณ
ยกตัวอย่างเช่น เฮอร์คิวลีสเป็นต้นเรื่องให้กับภาพยตร์หลายสิบเรื่อง
ภาพยตร์เหล่านี้นำเอาเรื่องราวมาจากต้นยุคคลาสสิกให้กับการ์ตูนวอลท์ ดีสนีย์
การอ้างถึงเทพปกรณัมยังไม่เรื่องธรรมดาในวัฒนธรรมอันได้รับความนิยมในปัจจุบัน
ทีมกีฬาหลายทีมได้รับเอาชื่อของบุคคลสำคัญผู้ทรงพลังจากตำนาน เช่น
ไททันหรือโทรจัน มาเป็นสัญลักษณ์ ธุรกิจก็ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์จากเทพปกรณัมมาใช้โฆษณาเป็นประจำ
แม้ว่าประชาชนไม่เชื่อเรื่องเทพเจ้ากรีกอีกต่อไป แนวความคิดทางเทพปกรณัมก็ยังคงสามารถเห็นได้รอบ
ๆ ตัวเรา
|
ในมหากาพย์โอดิสซีย์ของโฮเมอร์
ปีศาจทะเลครึ่งผู้หญิงครึ่งนกได้ร้องเพลงไพเราะจนกระทั่งกะลาสีเรือซึ่งกำลังผ่านไป
ลืมทุกสิ่งทุกอย่างและทำให้เรือเกิดอุบัติเหตุ โอดิซิอุสได้เอาขี้ผึ้งอุดหูของลูกเรือและผูกตัวเองเข้ากับเสากระโดงเรือ
|
อัตชีวประวัติ
|
อัตชีวประวัติ
|
อิทธิพลของตำนานและวัฒนธรรมกรีกยังสามารถเห็นได้ในชื่อวัตถุต่าง
ๆ มากมาย นักดาราศาสตร์ได้ตั้งชื่อดวงจันนทร์ไอโอ (IO) ของดาวพฤหัสบดีตามชื่อสตรีในเทพนิยายกรีก
ทีมกีฬาหลายทีมยังใช้ชื่อเป็นภาษากรีกด้วย ตัวนำโชคของวิทยาลัยนี้สวมชุดคล้ายกับนักรบเมืองโทรจัน
|