กรีซโบราณ/การปกครองในเอเธนส์

การปกครองในเอเธนส์
การปกครองของสมาชิกของชนชั้นสูงและผู้ปกครองเผด็จการ
กรีซเป็นสถานที่ให้กำเนิดการปกครองแบบประชาธิปไตย (ความจริงเป็นประเทศอินเดียโบราณ ซึ่งมีในรัฐวัชชีและมัลละและในพุทธศาสนา แต่ฝรั่งยังเข้าไม่ถึงหลักฐานเหล่านั้น – ผู้จัดทำ) ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่ประชาชนปกครองตนเอง คำว่า Democracy มาจากคำภาษากรีก หมายความว่า “การปกครองของประชาชน” แต่นครรัฐของกรีกไม่ได้เป็นต้นกำเนิดของประชาธิปไตย และไม่ได้เป็นประชาธิปไตยทั้งหมด

การปกครองโดยประชาชนกลุ่มน้อย
แม้ว่าเอเธนส์ ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นต้นกำเนิดของการปกครองแบบประชาธิปไตย เริ่มต้นด้วยการปกครองรูปแบบต่าง ๆ กัน ในเอเธนส์ยุคแรก กษัตริย์ก็ปกครองนครรัฐ ต่อมากลุ่มเจ้าของที่ดินผู้ร่ำรวย หรือสมาชิกของชนชั้นสูง (aristocrat) ก็ขึ้นครองอำนาจ การปกครองที่ชนกลุ่มน้อยเท่านั้นขึ้นครองอำนาจ เรียกว่า คณาธิปไตย (oligarchy)
สมาชิกของชนชั้นสูงมีอิทธิพลเหนือสังคมเอเธนส์ ในขณะที่คนร่ำรวยที่สุดอยู่ในเมือง พวกเขาก็ครอบครองเศรษฐกิจของเมือง และยังมีหน้าที่เป็นผู้วางแผนและเป็นผู้พิพากษาด้วย ประชาชนทั่วไปมีเสียงเพียงเล็กน้อยในการปกครอง
ในศตวรรษที่ 600 ก่อนคริสตกาล กลุ่มกบฏได้พยายามล้มล้างอำนาจสมาชิกชนชั้นสูง แต่ล้มเหลว อย่างไรก็ตาม น่าจะเป็นเพราะสาเหตุแห่งความพยายามของพวกเขา จึงทำให้ชายนามว่า ดราโก (Draco) สร้างกฎหมายชุดใหม่ให้กับเอเธนส์ กฎหมายเหล่านี้มีความรุนแรงมาก ยกตกอย่าง กฎหมายของดราโกได้สร้างอาชญากรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้น เช่น การปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งมีโทษถึงตาย
ประชากรของเอเธนส์คิดว่า กฎหมายของดราโกเข้มงวดเกินไป ในศตวรรษที่ 590 ก่อนคริสตกาล ชายนามว่า โซลอน (Solon) ได้ออกกฎหมายมาหนึ่งชุด ซึ่งรุนแรงน้อยกว่าและให้สิทธิแก่ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกชนชั้นสูงมากกว่า ภายใต้กฎหมายของโซลอน อิสรชนที่อาศัยอยู่ในเอเธนส์ก็กลายเป็นพลเมือง ซึ่งเป็นประชาชนที่มีสิทธิในการเข้าร่วมในการปกครอง แต่ความพยามของโซลอนไม่เพียงพอสำหรับชาวเอเธนส์ พวกพร้อมที่ยุติบทบาทของสมาชิกชนชั้นสู

การอุบัติขึ้นของนักปกครองเผด็จการ
เนื่องจากชาวเอเธนส์ไม่พอใจกับการปกครองของสมาชิกชนชั้นสูง พวกเข้าจึงต้องการรัฐบาลใหม่ เมื่อ 546 ปีก่อนคริสตกาล ขุนนางนามว่า พิซิสตราตัส (Peisistratus) ได้ล้มล้างการปกครองแบบคณาธิปไตย เขากลายเป็นผู้ปกครองเอเธนส์ พิซิสตราตัสได้รับการเรียกขานว่า นักปกครองเผด็จการหรือทรราช (tyrant) ซึ่งหมายความว่า ผู้นำที่ยึดอำนาจด้วยการใช้กำลัง

ปัจจุบัน คำว่า นักปกครองเผด็จการหรือทรราช หมายถึง ผู้ปกครองที่มีความโหดร้ายรุนแรง แต่คำนั้นมีความหมายแตกต่างกันกับภาษากรีกโบราณ นักปกครองเผด็จการหรือทรราชของชาวเอเธนส์ โดยปกติแล้วเป็นผู้นำที่ดี นักปกครองเผด็จการหรือทรราช สามารถอยู่ในอำนาจได้ เนื่องจากพวกเขามีกองทัพที่เข้มแข็งและเนื่องจากประชาชนสนับสนุนพวกเขา
พิซิสตราตัสได้นำความสงบสุขและความรุ่งเรืองกลับมาสู่เมือง เขาเริ่มนโยบายใหม่ที่หมายถึงการรวบรวมเมืองให้เป็นเอกภาพ เขาได้สร้างเทศกาลใหม่ ๆ ขึ้นและสร้างวิหารและอนุสาวรีย์ ในยุคที่เขาปกครอง มีการปรับปรุงพัฒนามากมายในเอเธนส์
ภายหลังทีพิซิสตราตัสเสียชีวิต บุตรชายของเขาได้ขึ้นครองอำนาจในฐานเป็นผู้นำเผด็จการหรือทรราช แต่อย่างไรก็ตามสมาชิกของชนชั้นสูงมากมายไม่มีความสุข เพราะอำนาจของพวกเขาสูญเสียไป บางพวกในหมู่สมาชิกชนชั้นสูงเหล่านี้ มั่นใจว่านครรัฐที่เป็นคู่แข่งจะเข้าโจมตีเอเธนส์  เนื่องจากผลแห่งการรุกรานนี้ เหล่าทรราชจึงสูญเสียอำนาจและเป็นช่วงเวลาอันสั้น สมาชิกของชนชั้นสูงก็กลับมาครองอำนาจในเอเธนส์







การปกครองในเอเธนส์
 
คณาธิปไตย (oligarchy)
เอเธนส์ในยุคแรกปกครองโดยกลุ่มคนชนชั้นสูงผู้มีอำนาจกลุ่มเล็ก ๆ  การปกครองชนิดนี้ เรียกว่า คณาธิปไตย (oligarchy) คณาธิปไตย หมายความว่า “การปกครองโดยคนกลุ่มน้อย”
 
การปกครองแบบกดขี่ (Tyranny)
พิซิสตราตัส (Peisistratus) ได้ล้มล้างการปกครองแบบคณาธิปไตย เมื่อ 546 ปีก่อนคริสตกาล และเอเธนส์กลายเป็นการปกครองแบบกดขี่ข่มเหง Tyranny หมายความว่า “การปกครองโดยผู้ปกครองที่เผด็จการ” คือ ผู้นำที่เข้มแข็งขึ้นมามีอำนาจ
 
ประชาธิปไตย (Democracy)
ประมาณ 500 ก่อนคริสตกาล เอเธนส์กลายเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ประชาธิปไตย หมายความว่า “การปกครองโดยประชาชน” เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ การปกครองอยู่บนพื้นฐานการออกเสียงของประชากรผู้มีอิสรภาพ
ชาวเอเธนส์สร้างประชาธิปไตย
ประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกล ผู้นำคนใหม่นามว่า ไคลส์ธีนีส (Cleisthenes) ครองอำนาจในเอเธนส์ แม้ว่าเขาจะเป็นสมาชิกของตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดคนหนึ่งในเอเธนส์ ไคลส์ธีนีสก็ไม่ต้องการให้สมาชิกชนชั้นสูงมาบริหารการปกครอง เขาคิดว่า พวกเขามีอิทธิพลมากเกินไปแล้ว ด้วยการสนับสนุนของประชาชน ไคลส์ธีนีสก็สามารถล้มล้างการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย (aristocracy) เป็นครั้งสุดท้าย เขาได้สถาปนารูปแบบแห่งการปกครองแบบใหม่อย่างสมบูรณ์ในสถานที่เกิดแล้ว
ภายใต้การเป็นผู้นำของไคลส์ธีนีส เอเธนส์ได้พัฒนาประชาธิปไตยขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ด้วยเหตุผลนี้ บางครั้งเขาจึงถูกเรียกว่า บิดาแห่งประชาธิปไตย (father of democracy)

ประชาธิปไตยภายใต้การปกครองของไคลส์ธีนีส
ภายใต้การปกครองของไคลส์ธีนีส ประชากรทั้งหมดในเอเธนส์มีสิทธิในการเข้าร่วมในสภา หรือสถานที่มาชุมนุมของประชากร เพื่อออกกฎหมายของเมือง สภาได้ประชุมกันกลางแจ้งข้างเนินเขาเพื่อให้ทุก ๆ คนสามารถเข้าร่วมประชุมได้ ในระหว่างการประชุม ประชาชนจะยืนต่อหน้าชุมนุมชนและกล่าวประเด็นทางการเมือง ประชากรทุกคนจะมีสิทธิในการพูดแสดงความคิดเห็น ในความเป็นจริง ชาวเอเธนส์ได้กระตุ้นให้ประชาชนออกมาพูด พวกเขาชอบฟังการพูดและการอภิปราย ภายหลังการการพูดสิ้นสุด สภาจะออกเสียง ปกติแล้วการออกเสียงจะใช้การยกมือ แต่บางครั้งชาวเอเธนส์จะใช้วิธีการลงคะแนนลับ
สมาชิกของประชาชนที่ออกเสียงในสภา เปลี่ยนแปลงไปวันต่อวัน อย่างไรก็ตาม สำหรับการตัดสินใจส่วนใหญ่ สภาตั้งการประชาชนประมาณ 6,000 คนในการออกเสียง แต่มันไม่ง่ายเสมอไปที่จะให้ประชาชนมากมายมาประชุมกันในสถานที่เดียว
ตามที่นักเขียนกรีกคนหนึ่งกล่าวไว้ รัฐบาลได้ส่งทาสหลายคนไปยังตลาดเพื่อให้เต็มจำนวนประชากรถ้าเกิดความจำเป็น ในบทของนักเขียนบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า ทาสหลายคนเดินผ่านตลาดด้วยการยึดเชือกยาวระหว่างพวกเขา เชือกจะถูกซ่อนไว้ด้วยการย้อมสีแดงและสามารถทำให้เสื้อผ้าของทุก ๆ คนที่สัมผัสเชือกเกิดเป็นรอยได้ ประชากรคนใดมีสีแดงติดบนเสื้อผ้าจะต้องไปยังสถานที่ประชุมสภาหรือเสียค่าปรับจำนวนมาก
เนื่องจากสภาใหญ่มาก บางครั้งจึงยากในการตัดสินใจ ดังนั้น ชาวเอเธนส์จึงเลือกประชากรไปไปเจ้าหน้าที่ของเมืองและเพื่อให้บริการในสภาที่เล็กกว่า เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะตัดสินใจว่า กฎหมายใดที่สภาควรจะอภิปราย ข้อนี้ช่วยให้รัฐบาลบริหารงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงในประชาธิปไตยของเอเธนส์
เมื่อเวลาผ่านไป ประชากรได้รับอำนาจมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น พวกเขามีหน้าที่เป็นคณะลูกขุนในการตัดสินคดีในศาล คณะลูกขุนมาจากที่ใดก็ได้ตั้งแต่ 200 ถึง 6,000 คน แม้ว่าคณะลูกขุนในบรรดาประชาชนประมาณ 500 คน จะเป็นสามัญชนมากกว่า คณะลูกขุนส่วนมากมีจำนวนสมาชิกเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสัมพันธ์

เอเธนส์เป็นประชาธิปไตยเป็นเวลาประมาณ 170 ปี ขึ้นสู่จุดสูงสุดภายใต้ผู้นำที่ฉลาดปราดเปรื่องที่ได้รับการเลือกตั้ง นามว่า เพริคลีส (Pericles) เขาเป็นผู้นำรัฐบาลตั้งแต่ประมาณ 460 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงเสียชีวิตเมื่อ 429 ปีก่อนคริสตกาล
เพริคลีสได้กระตุ้นให้ชาวเอเธนส์เกิดความภูมิใจในเมืองของตนเอง เขาเชื่อว่า การเข้าร่วมในการปกครองเกือบจะมีความสำคัญพอ ๆ กับการป้องกันเอเธนส์ในสงคราม การกระตุ้นให้ประชาชนเข้าร่วมในการปกครอง เพริคลีสเริ่มจ่ายค่าแรงให้กับประชาชนที่ทำหน้าที่บริการในสถานที่ราชการหรือเป็นคณะลูกขุน เพริคลีสยังกระตุ้นให้ประชาชนแห่งเอเธนส์นำการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเผยแพร่ยังส่วนอื่น ๆ ของกรีซด้วย

การสิ้นสุดประชาธิปไตยในเอเธนส์
         ในที่สุด ยุคแห่งประชาธิปไตยแห่งเอเธนส์อันยิ่งใหญ่ก็มาถึงการสิ้นสุด ในยุคกลางศตวรรษที่ 330 ก่อนคริสตกาล เอเธนส์ก็ถูกชาวมาซิโดเนียจากทางตอนเหนือของกรีซเข้าพิชิต ภายหลังถูกพิชิต เอเธนส์ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลอันเข้มแข็งของมาซิโดเนีย
ถึงแม้ภายหลังจะถูกชาวมาซิโดเนียพิชิต เอเธนส์ก็รักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยไว้ได้ แต่เป็นประชาธิปไตยที่มีข้อจำกัดมาก กษัตริย์มาซิโดเนียได้ปกครองประเทศของพระองค์คล้ายกับระบบเผด็จการ ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่ยึดอำนาจทั้งหมด ไม่มีใครสามารถทำการตัดสินใจใด ๆ ได้โดยที่พระองค์ไม่อนุมัติ
         ในเอเธนส์ สภายังมีการประชุมเพื่อออกกฎหมาย แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้รบกวนกษัตริย์ ชาวเอเธนส์ไม่กล้าทำการเปลี่ยนแปลงอย่างร้ายแรงใด ๆ ต่อกฎหมายของตนเองได้โดยที่ยังไม่ได้รับรับอนุมัติจากกษัตริย์ พวกเขาไม่มีความสุขกับสถานการณ์แบบนี้ แต่พวกเขากลัวกองทัพอันทรงประสิทธิภาพของกษัตริย์ แม้ว่า อีกไม่นาน ชาวเอเธนส์จะสูญเสียประชาธิปไตยแม้ที่มีข้อจำกัดนี้ เมื่อศตวรรษที่ 320 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์องค์ใหม่จะขึ้นครองกรีซและหยุดประชาธิปไตยของเอเธนส์ตลอดกาล




ประชาธิปไตยแบบโบราณแตกต่างจากประชาธิปไตยสมัยใหม่
         สหรัฐอเมริกามีการปกครองแบบประชาธิปไตยซึ่งประชาชนปกครองกันคล้ายกับเอเธนส์สมัยโบราณ แต่ประชาธิปไตยแบบสมัยใหม่ของสหรัฐแตกต่างจากประชาธิปไตยของเอเธนส์สมัยโบราณมาก

ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy)
ประชากรในเอเธนส์ทุกคนสามารถเข้าร่วมในการปกครองได้โดยตรง เราเรียกรูปแบบประชาธิปไตยแบบนี้ว่า ประชาธิปไตยทางตรง (direct democracy) ที่เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง เนื่องจากการตัดสินใจของแต่ละคนมีผลกระทบต่อผลการออกเสียงโดยตรง ในเอเธนส์ ประชากรจะมาชุมนุมกันเพื่อภิปรายประเด็นและออกเสียงเกี่ยวกับประเด็นเหล่านั้น เมื่อนับการออกเสียงของแต่ละคนแล้ว เสียงส่วนมากจะได้ปกครองประเทศ
สหรัฐใหญ่โตมากเกินไปที่จะใช้ประชาธิปไตยทางตรงในการทำงานให้ประเทศทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น เป็นไปไม่ได้ที่ประชากรทุกคนจะมาประชุมกันในสถานที่เดียวกันเพื่ออภิปราย เหล่าผู้ก่อตั้งสหรัฐจึงจัดตั้งประชาธิปไตยอีกชนิดหนึ่งขึ้นมาแทน

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (Representative Democracy)
         ประชาธิปไตยที่ก่อตั้งขึ้นโดยเหล่าผู้ก่อตั้งสหรัฐ คือ ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (Representative Democracy) หรือประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ (republic Democracy) ในระบบนี้ ประชากรจะเลือกเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นตัวแทนของพวกเขาในการปกครอง แล้วเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้งจะประชุมกันเพื่อออกกฎหมายของประเทศและนำมาใช้บังคับพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น ชาวอเมริกาจะเลือกวุฒิสมาชิกและผู้แทนเข้าไปสู่รัฐสภา (Congress) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ออกกฎหมายของประเทศ ชาวอเมริกาไม่ได้ออกเสียงกฎหมายแต่ละฉบับที่รัฐสภาผ่าน แต่มีความเชื่อมั่นในผู้แทนที่พวกเข้าเลือกให้ออกเสียงให้กับพวกเขา
เพริคลีส (495 – 429 ปีก่อนคริสตกาล)
เพริคลีสมากจากตระกูลที่ร่ำรวยและขุนนางชั้นสูง บิดาของเขาเป็นสมาชิกของชนชั้นสูง เป็นผู้นำสภาพของเอเธนส์และต่อสู้ในยุทธการซาลามิส (Battle of Salamis) ในการทำสงครามกับเปอร์เซีย มารดาของเขาเป็นหลานสาวของไคลส์ธีนีส ผู้เป็นขุนนางแห่งเอเธนส์ที่แนะนำการปฏิรูปประชาธิปไตยที่สำคัญ
เพริคลีสมีชื่อเสียงในด้านความสำเร็จทางการเมืองในฐานะเป็นผู้นำเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม เพริคลีสเป็นผู้ชายที่เข้าใจยาก นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งเขียนไว้ว่า : “เขาเป็นคนอยู่อย่างโดดเดี่ยวอย่างไม่น่าสงสัย เขาไม่มีเพื่อน...(และ) เขาเดินทางออกจากบ้านเพียงคนเดียวเพื่อทำงานอย่างเป็นทางการ”