ชาวฮิบรูในยุคแรก
|
||
อับราฮัมและโมเสส (Abraham and Moses) เป็นผู้นำประชาชน
แต่ก่อนในระหว่าง
2000 – 1500 ปีก่อนคริสตกาล ประชาชนพวกใหม่ปรากฏขึ้นในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ประชาชนพวกนั้น
คือ ชาวฮิบรู (Hebrew) ผู้เป็นบรรพบุรุษของชาวอิสราเอลและชาวยิว
ชาวฮิบรูในยุคแรกเป็นคนเลี้ยงปศุสัตว์แบบง่าย ๆ แต่พวกเขาได้พัฒนาวัฒนธรรมซึ่งกลายมามีอิทธิพลสำคัญต่ออารยธรรมในยุคต่อมา
พวกเรารู้ประวัติศาสตร์ในยุคแรกของพวกเขาจากผลงานของนักโบราณคดีและจากเรื่องราวที่เขียนไว้โดยนักเขียนชาวฮิบรู
เรื่องราวเหล่านี้อธิบายประวัติศาสตร์ในยุคแรกของพวกเขาและหลักความประพฤติของศาสนายูดาห์
(Judaism) ซึ่งเป็นศาสนาของพวกเขา
ในไม่ช้าเรื่องราวเหล่านี้ก็กลายเป็นคัมภีร์ของชาวฮิบรู
คัมภีร์ของชาวฮิบรูเหมือกับคัมภีร์เก่า (Old Testament) ของตำราชาวคริสต์มาก
|
||
การเริ่มต้นในแคนานและอียิปต์
คัมภีร์ของฮิบรูกล่าวย้อนรอยชาวฮิบรูไปถึงผู้ชายนามว่า
อับราฮัม (Abraham) คัมภีร์ฮิบรูเล่าไว้ว่า
วันหนึ่งพระเจ้าได้บอกให้อับราฮัมออกจากบ้านเกิดเมืองนอนในดินแดนเมโสโปเตเมีย
ท่านจึงพาครอบครัวเดินทางยาวไกลไปยังดินแดนตะวันตก พระเจ้าสัญญาว่าจะนำอับราฮัมไปยังดินแดนแห่งใหม่และทำให้ลูกหลานของท่านเป็นชาติที่มีอำนาจ
อับราฮัมเดินทางออกจากเมโสโปเตเมียและตั้งหลักแหล่งในแคนาน
บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลูกหลานของท่านบางพวก ซึ่งเป็นชาวอิสราเอล
อาศัยอยู่ในแคนานมาเป็นเวลาหลายปี แต่อย่างไรก็ตาม ต่อมา
ชาวอิสราเอลบางพวกก็อพยพไปสู่อียิปต์ บางทีอาจจะเนื่องมาจากภาวะความยากหมากแพงในแคนาน
ชาวอิสราเอลอาศัยอยู่ในอียิปต์อย่างราบรื่น
และประชากรของพวกเขาก็เจริญเติบโต
การเจริญเติบโตนี้ทำให้ฟาโรห์ของอียิปต์เกิดความกังวล พระองค์กลัวว่า ในไม่ช้า ชาวอิสราเอลอาจจะมีอำนาจมากขึ้น
เพื่อไม่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ฟาโรห์จึงทำให้ชาวอิสราเอลเป็นทาสรับใช้
หนังสืออพยพ (the Exodus)
ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ฮิบรู
ผู้นำนามว่า โมเสส (Moses) อุบัติขึ้นในหมู่ชาวอิสราเอลในประเทศอียิปต์ เมื่อศตวรรษที่ 1200
ก่อนคริสตกาล พระเจ้าได้บอกให้โมเสสนำชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์
โมเสสได้เดินทางไปหาฟาโรห์และเรียกร้องให้ปล่อยชาวอิสราเอลให้เป็นอิสระ
ฟาโรป์ทรงปฏิเสธ หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดโรคระบาดเป็นระลอกเข้าโจมตีชาวอียิปต์
โรคระบาดได้ขู่ขวัญฟาโรห์เป็นอย่างมากซึ่งทำให้พระองค์ทรงยินยอมปล่อยชาวอิสราเอลเป็นอิสระ
ด้วยความดีใจกับข่าวการปล่อยพวกเข้าให้เป็นอิสระ
โมเสสจึงได้นำประชาชนของตนเองออกจากอียิปต์ในการเดินทางที่เรียกว่า “หนังสืออพยพ”
(Exodus)
สำหรับชาวอิสราเอล
การหลุดพ้นจากความเป็นทาสได้พิสูจน์ให้เห็นว่าพระเจ้ากำลังปกปักรักษาและคอยดูแลพวกเขา
พวกเขาเชื่อว่าได้รับอิสรภาพเพื่อพระเจ้ารักพวกเขา
การพลัดถิ่นเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวยิว
แต่คนพวกอื่นก็ยอมรับนัยสำคัญของเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น ตลอดประวัติศาสตร์
ผู้คนที่เป็นทาสก็ยังค้นพบความหวังในเรื่องราวที่กล่าวนี้ ก่อนสงครามกลางเมือง
ชาวอเมริกาที่เป็นทาสได้ร้องเพลงเกี่ยวกับโมเสสเพื่อรักษาไว้ซึ่งความหวังแห่งอิสรภาพในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
เป็นเวลาหลายปีหลังจากได้รับอิสรภาพ
ชาวอิสราเอลได้เดินทางผ่านทะเลทราย ด้วยความพยายามจะกลับไปยังดินแดนแคนาน
ในระหว่างการเดินทาง พวกเขาได้ถึงภูเขาชื่อว่า ซินาย (Sinai)
บนภูเขาลูกนั้น คัมภีร์ฮิบรูกล่าวไว้ว่า พระเจ้าได้ให้แผ่นหินสองแผ่นแก่โมเสส บนแผ่นหินนั้นเขียนประมวลกฎศีลธรรมที่เรียกว่า
บัญญัติสิบประการ (Ten Commandments):
“เราคือพระผู้เป็นเจ้าของพวกท่าน
ที่จะนำพาพวกท่านออกจากแผ่นดินอียิปต์ ซึ่งเป็นที่อยู่แห่งความเป็นทาส
พวกเจ้าไม่ควรมีพระเจ้าองค์อื่นนอกจากเรา...พวกเจ้าไม่ควรออกพระนามพระผู้เป็นเจ้าอย่างผิด
ๆ เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าจะไม่ทำให้ผู้ที่ออกพระนามของพระองค์แบบผิด ๆ
ให้บริสุทธิ์ จงระลึกถึงวันซับบาธ (Sabbath day = วันประกอบพิธีทางศาสนาและพักผ่อนของชาวคริสต์
= สะบาโต) และรักษามันไว้ด้วยความเคารพ....
|
จงแสดงความเคารพบิดามารดาของพวกเจ้าว่า
พวกเจ้าจะอดทนอยู่ในดินแดนที่พระเจ้ามอบหมายให้กับพวกเจ้าอย่างยาวนาน
พวกเจ้าไม่ควรกระทำการสังหารชีวิต
พวกเจ้าไม่ควรกระทำการเป็นชู้
พวกเจ้าไม่ควรลักขโมย
พวกเจ้าไม่ควรเป็นพยานเท็จต่อเพื่อนบ้าน
พวกเจ้าไม่ควรโลภอยากได้บ้านเรือนของเพื่อนบ้าน
พวกเจ้าไม่ควรโลภอยากได้ภรรยา
หรือทาสชายหรือทาสหญิงของเพื่อนบ้าน
หรือโคหรือลา
หรือสิ่งใด ๆ ที่เป็นของเพื่อนบ้าน”
พระธรรมอพยพ : 20:2-14
ด้วยการยอมรับบัญญัติสิบประการเหล่านี้
ชาวอิสราเอลจึงยอมรับนับถือพระเจ้าเท่านั้น พวกเขายังยอมรับคุณค่าชีวิตของมนุษย์
การควบคุมตนเอง และความยุติธรรม เมื่อเวลาผ่านไป
บัญญัติเหล่านั้นจึงก่อรูปร่างเป็นวิวัฒนาการของสังคมชาวยิว
การกลับสู่ดินแดนแคนาน
ตามที่คัมภีร์ฮิบรูกล่าวไว้
ในที่สุดชาวอิสราเอลก็เดินทางถึงดินแดนแคนาน ครั้งหนึ่ง ณ ดินแดนแห่งนั้น
พวกเขาได้ต่อสู้กับผู้คนที่อาศัยอยู่ ณ
ที่นั่นเพื่อให้ได้มาซึ่งแผ่นดินก่อนที่พวกเข้าจะตั้งรกราก หลังจากพวกเขาพิชิตดินแดนแคนานและตั้งรกรากแล้ว
ชาวอิสราเอลก็ได้สร้างสังคมของตนเอง
ณ
ดินแดนแคนาน ชาวอิสราเอลอาศัยอยู่เป็นสังคมเล็ก ๆ กระจัดกระจาย สังคมเหล่านี้ไม่มีรัฐบาลกลาง
แต่ละสังคมได้เลือกผู้ตัดสินเป็นผู้นำเพื่อบังคับใช้กฎหมายและจัดการข้อพิพาท อย่างไรก็ตาม
ในไม่ช้า ก็มีการคุกคามซึ่งเรียกว่า ภาวะผู้นำชนิดใหม่ เกิดขึ้น
เหล่ากษัตริย์รวมชาวอิสราเอลเป็นเอกภาพ
การคุกคามแบบใหม่ที่มีต่ออิสราเอล
มาจากชาวฟิลิสไตน์ (Philistine) ที่อาศัยตามฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ในกลางศตวรรษที่ 1000 ก่อนคริสตกาล ชาวฟิลิสไตน์ ได้บุรุกดินแดนของชาวอิสราเอล
ด้วยความตกใจกลัวผู้รุกรานที่มีสมรรถภาพสูงเหล่านี้
ชาวอิสราเอลจึงได้รวมตัวกันภายใต้ผู้ปกครองคนเดียวซึ่งมีความสามารถนำพวกเข้าต่อสู้ได้
ผู้นำนั้นเป็นผู้ชายนามว่า ซาอูล (Saul) ซึ่งกลายเป็นกษัตริย์องค์แรกของอิสราเอล
ซาอูลประสบความสำเร็จในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาทางทหาร
แต่พระองค์ไม่ได้เป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็ง
พระองค์ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากผู้นำเผ่าและผู้นำทางศาสนาทั้งหมด พวกเขาต่อต้านการตัดสินใจของพระองค์เสมอ
|
|
|
เหล่าผู้บุกรุกเข้าพิชิตและปกครอง
หลังจากโซโลมอนเสียชีวิตเมื่อประมาณ
930 ปีก่อนคริสตกาล การปฏิวัติก็ครอบงำผู้ที่จะเป็นกษัตริย์ ภายในหนึ่งปี
ความขัดแย้งก็แบ่งอิสราเอลออกจากัน อิสราเอลแยกเป็นสองอาณาจักร เรียกว่า
อิสราเอล และ ยูดาห์ (Judah) ชาวยูดาห์ก็เป็นรู้จักกันว่า ชาวยิว (Jew)
อาณาจักรใหม่สองแห่งดำรงอยู่มาเป็นเวลาสองสามศตวรรษ
อย่างไรก็ตาม ในที่สุด ทั้งสองอาณาจักรก็ถูกพิชิต
ชาวอัสซีเรียพิชิตอิสราเอลเมื่อประมาณ 722 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผลให้อาณาจักรล่มสลายและประชาชนส่วนมากก็แตกกระจัดกระจาย
ชาวยูดาห์ดำรงอยู่ได้นานกว่า แต่ในไม่ช้า ก็พ่ายแพ้ต่อชาวคาลเดีย (Chaldean)
การแตกกระจัดกระจายของชาวยิว
ชาวคาลเดียได้ยีดกรุงเยรูซาเลมและทำลายวิหารของโซโลมอน
เมื่อ 586 ปีก่อนคริสตกาล ชาวคาลเดียบังคับให้ชาวยิวหลายพันคนเดินไปยังกรุงบาบิโลนซึ่งเป็นเมืองหลวงของพวกเขา
เพื่อให้ทำงานเป็นทาส ชาวยิวเรียกการจับไปเป็นทาสนี้ว่า เชลยศึกแห่งบาบิโลน (Babylonian
Captivity)
เหตุการณ์นี้ดำรงอยู่ประมาณ 50 ปี
เมื่อศตวรรษที่ 530
ปีก่อนคริสตกาล
ประชาชนได้เรียกร้องให้ชาวเปอร์เซียพิชิตชาวคาลเดียและปล่อยชาวยิวให้กับไปยังกรุงเยรูซาเลม
แต่ชาวยิวจำนวนมากไม่เคยถือโอกาสนี้กลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนเลย พวกเขาอพยพไปยังส่วนอื่น
ๆ ของจักรวรรดิเปอร์เซียแทน
นักวิชาการเรียกการกระจัดกระจายของชาวยิวออกนอกประเทศอิสราเอลและยูดาห์ว่า การพลัดถิ่น
(Diaspora)
ชาวยิวส่วนหนึ่งได้กลับไปยังกรุงเยรูซาเลม
ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอน ณ ที่นั้น พวกเขาได้สร้างวิหารของโซโลมอนขึ้นมาใหม่
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า พระวิหารที่สอง (Second Temple) ชาวยิวยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซียจนถึงศตวรรษที่
330 ก่อนคริสตกาล ในขณะที่ชาวเปอร์เซียก็ถูกเหล่าผู้รุกรานเข้าพิชิต
อิสรภาพและการพิชิต
เมื่อเกิดความลำบากกับการปกครองของชาวต่างชาติ
ตระกูลชาวยิวชื่อแม็คคาบีส (Maccabees)
จึงเป็นผู้นำการปฏิวัติจนสำเร็จ เมื่อศตวรรษที่ 160 ก่อนคริสตกาล ชาวยิวได้ปกครองอาณาจักรของตนเองอีกครั้งเป็นเวลา
100 ปี แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ดำรงอิสรภาพอยู่ไม่ได้ เมื่อ 63 ปีก่อนคริสตกาล
ชาวยิวก็ถูกพิชิตอีกครั้ง ครั้งนี้ เป็นการพิชิตโดยชาวโรมัน
|
แม้เหล่าผู้นำชาวยิวจะสร้างวิหารแห่งที่สองเพิ่มเติมในภายใต้การปกครองของโรมัน การดำเนินชีวิตก็เป็นไปลำบาก ภาษีจำนวนมากก็ตกเป็นภาระของประชาชน
ชาวโรมันเป็นเจ้านายที่โหดร้ายซึ่งไม่เคารพศาสนาและวิถีการดำเนินชีวิตของชาวยิว
พวกนักปกครองบางพวกพยายามบังคับชาวยิวให้เคารพนับถือจักรพรรดิโรมัน
นักปกครองชาวโรมันถึงกับแต่งตั้งนักบวชระดับสูงให้เป็นผู้นำวิหาร ข้อนี้มากเกินไปที่ชาวยิวจะอดทนได้
พวกเขาเรียกร้องให้ประชาชนก่อการกบฏต่อชาวโรมัน
สตรีในสังคมของอิสราเอล
ผู้ชายมีอำนาจเหนือการปกครองและสังคมอิสราเอล
เหมือนกับสังคมโบราณทั้งหลายเป็นส่วนมาก สตรีมีสิทธิเล็ก ๆ น้อย ๆ
พวกหล่อนต้องเชื่อฟังบิดาและสามีของตนเอง สตรีไม่สามารถแม้กระทั่งจะเลือกสามีด้วยตนเอง
บิดาจะเลือกสามีให้กับหล่อนแทน สตรีไม่สามารถรับมรดกใด ๆ ได้
นอกจากหล่อนไม่มีพี่น้องชาย ถ้าหล่อนมีพี่น้องชาย
ทรัยพ์สมบัติทั้งหมดจะตกเป็นของพี่น้องชายนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม
สตรีชาวอิสราเอลและชาวยิวบางคนก็ทำการช่วยเหลือสังคมของตนเองได้ คัมภีร์ฮิบรูพรรณนาเรื่องราวของพวกหล่อนไว้ว่า
สตรีบางคนเป็นผู้นำทางการเมืองและกองทัพ เช่น ราชินีเอสเธอร์ (Queen Esther) และผู้วินิจฉัยนามว่า เดโบราห์ (Deborah) ตามที่คัมภีร์ฮิบรูพรรณนาไว้
สตรีเหล่านี้ได้ช่วยชีวิตประชาชนจากศัตรูของพวกเขา สตรีคนอื่น ๆ เช่น มีเรียม (Miriam) พี่น้องสาวของโมเสส ก็เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ
สตรีบางคนในคัมภีร์ฮิบรูก็ได้รับการยกย่องให้เป็นตัวอย่างที่สตรีชาวอิสราเอลและชาวยิวควรจะประพฤติตาม
ยกตัวอย่างเช่น รูธ (Ruth) ผู้ยอมสละประชาชนของหล่อนไปดูแลมารดาเลี้ยงของตนเอง ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างในการอุทิศตนให้กับครอบครัว
เรื่องราวของรูธได้ถูกเล่าไว้เป็นตัวอย่างด้านการปฏิบัติต่อสมาชิกในครอบครัวของตนเอง
|
|
อัตชีวประวัติ
รุทและนาโอมี (Ruth
and Naomi)
เรื่องราวของรูทและนาโอมีมาจากหนังสือนางรูธ
(The Book of Ruth) ซึ่งเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในคัมภีร์ฮิบรู ในเรื่องราวนี้ รูธไม่ได้เป็นชาวอิสราเอล
แม้ว่าสามีของหล่อนจะเป็นชาวอิสราเอลก็ตาม หลังจากสามีเสียชีวิต รูธและแม่เลี้ยงของหล่อน
ชื่อนาโอมี ก็ได้ตั้งหลักแหล่งใหม่ในอิสราเอล ด้วยแรงบันดาลใจจากศรัทธาในพระเจ้า รูธก็เข้าร่วมครอบครัวของนาโอมีและยอมรับศรัทธของหล่อน
หล่อนอุทิศชีวิตของตนเองช่วยเหลือค้ำจุนนาโอมี
|